
ขั้นตอน วิธีขอคืนเงินค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า ค่าน้ำ ได้เท่าไหร่ ลงทะเบียนอย่างไร เริ่มวันที่ 25 มีนาคม
วิธีลงทะเบียนรับเงิน ที่สำนักงานการไฟฟ้านครหลวง
โดยผู้ยื่นเรื่องสามารถเดินทางไปลงทะเบียนที่สำนักงานการไฟฟ้านครหลวง สำหรับผู้ที่อยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ส่วนผู้ที่อยู่ต่างจังหวัดสามารถเดินทางไปลงทะเบียนที่สำนักงานการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ดังนี้
1. กรอกหมายเลขบัตรประชาชน
2. กรอกชื่อ-นามสกุล
3. กรอกเลขที่สัญญาที่อยู่ในบิลค่าไฟฟ้า ณ สำงานไฟฟ้านครหลวง-การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ข้อมูลถูกต้องรับเงินคืนตั้งแต่ 31 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป
วิธีลงทะเบียนรับเงิน เว็บไซต์ มือถือ แอพลิเคชั่น
สรุปขั้นตอน วิธีลงทะเบียนออนไลน์ เพื่อขอรับคืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า หรือที่เรียกกันว่า “ค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า” ตามมาตรการช่วยเหลือผลกระทบจากการระบาดของโรคโควิด-19 ของรัฐบาล
ประชาชนผู้ใช้ไฟฟ้าจะสามารถขอรับเงินค่าประกันคืน ซึ่งมีมูลค่าตั้งแต่ 300-6,000 บาท ขึ้นอยู่กับขนาดของมิเตอร์ไฟฟ้าที่ใช้งานตามบ้านพักอาศัย ได้ตั้งแต่วันที่ 25 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป โดยสามารถลงทะเบียนได้ทั้งทางออนไลน์และติดต่อที่สำนักงานฯ
ล่าสุด การไฟฟ้าส่วนภูมิภาค หรือ กฟภ. (PEA) ได้โพสต์วิดีโอผ่านทางเฟซบุ๊ก อธิบายขั้นตอนลงทะเบียนรับเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าคืนสำหรับบ้านอยู่อาศัยและกิจการขนาดเล็ก ผ่านทางเว็บไซต์ โดยมีขั้นตอนดังต่อไปนี้
หมายเหตุ: สำหรับผู้ที่ใช้ไฟฟ้าของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ในพื้นที่ กรุงเทพฯ สมุทรปราการ และนนทบุรี อ่าน วิธีลงทะเบียน ใช้สิทธิ์รับคืนเงิน “ค่ามิเตอร์ไฟฟ้า” ของ กฟน.
ลิ้งเข้าลงทะเบียน รับเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า ล่าสุด >>
วิธีลงทะเบียนรับเงินค่าประกันมิเตอร์ไฟฟ้า
ขั้นตอนที่ 1
เตรียมข้อมูลต่อไปนี้ให้พร้อม
ชื่อ-นามสกุล ของผู้ใช้ไฟฟ้า
หมายเลขผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งสามารถดูได้จากบิลค่าไฟ
หมายเลขบัตรประชาชน
(เลขที่บัญชีธนาคาร หรือ เลขที่บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ ขึ้นอยู่กับช่องทางที่ต้องการรับเงินคืน)
ขั้นตอนที่ 2
เข้าไปที่หน้าเว็บไซต์ https://dmsxupload.pea.co.th/cdp/
หน้าเว็บไซต์ดังกล่าวจะเปิดให้ใช้งาน ตั้งแต่ วันที่ 25 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป
ขั้นตอนลงทะเบียน รับเงินค่าไฟฟ้าคืน
ขั้นตอนที่ 3
ใส่ข้อมูลที่เตรียมไว้ให้ครบตามช่องที่กำหนด หากมียศนำหน้าให้พิมพ์ติดกัน เช่น “ร้อยตรีสมชาย” จากนั้นกดปุ่ม “ตรวจสอบข้อมูล”
ขั้นตอนที่ 4
ระบบจะนำไปสู่หน้าข้อมูลสำหรับขอคืนค่าประกันการใช้ไฟฟ้า ให้กรอกข้อมูลให้ครบถ้วน
ในช่องเบอร์โทรติดต่อ ให้ใส่เบอร์โทรศัพท์สำหรับการแจ้งผลยืนยันการลงทะเบียน
(สามารถติ๊กเครื่องหมายถูก ในช่องข้างล่างเพื่อรับข่าวสารของ กฟภ ผ่านทาง SMS)
ในส่วนของ “ช่องทางการรับเงิน” ให้เลือกช่องทางที่ต้องการ เช่น บัญชีพร้อมเพย์, บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ, ผ่านบัญชีธนาคาร หรือ ติดต่อรับที่สำนักงานฯ
เมื่อกรอกครบแล้ว ให้กด “ดำเนินการต่อ”
ขั้นตอนลงทะเบียน รับเงินค่าไฟฟ้าคืน
ขั้นตอนที่ 5
กรอกข้อมูลบัญชีธนาคาร พร้อมเพย์ หรือ บัตรสวัสดิการแห่งรัฐ สำหรับการรับเงินให้ถูกต้อง
จากนั้นกด “ยืนยัน”
ขั้นตอนที่ 6
รอรับ SMS ยืนยันผลการลงทะเบียนและแจ้งผลการคืนเงิน
ทั้งนี้ การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจะจ่ายเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าคืนตั้งแต่วันที่ 31 มีนาคม 2563 เป็นต้นไป
เงินประกันการใช้ไฟฟ้าคืออะไร ?
การไฟฟ้าส่วนภูมิภาคบริการจำหน่ายกระแสไฟฟ้า โดยให้ผู้ใช้ไฟฟ้าใช้ไฟฟ้าก่อนแล้วจึงมีการเรียกเก็บเงินในภายหลัง การเรียกเก็บเงินประกันการใช้ไฟฟ้าจึงเป็นหลักประกันการใช้ไฟฟ้า กรณีผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ชำระค่าไฟฟ้าประจำเดือนเพื่อเป็นการป้องกันความเสี่ยงของภาครัฐในการที่ผู้ใช้ไฟฟ้าไม่ชำระค่าไฟฟ้า
ใครมีสิทธิ์ขอคืนเงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้า ?
-สำหรับผู้ที่จะขอใช้ไฟฟ้ารายใหม่ หลังจากนี้จะไม่ต้องวางเงินประกันมิเตอร์ไฟฟ้า
จะได้เงินค่าประกันการใช้ไฟฟ้าคืนเท่าไร ?
แต่ละบ้านจะได้รับเงินไม่เท่ากัน ขึ้นอยู่กับขนาดมิเตอร์ที่ใช้อยู่
สำหรับผู้ที่มีความประสงค์ขอคืนเงินประกันการใช้น้ำประปา มีขั้นตอนดังนี้
1. ต้องแสดงความจำนงถอนเงินประกันที่การประปา จากนั้นการประปาจะดำเนินการถอดมาตร โดยใช้เวลาดำเนินการภายใน 3 วันทำการ แล้วทางส่วนกลางจะดำเนินเรื่องคืนเงินประกันให้
2. เอกสารที่ต้องเตรียม มีดังนี้
– บัตรประจำตัวประชาชน
– หนังสือรับรองบริษัท สำเนาบัตรประชาชนกรรมการ (ในกรณีที่เป็นนิติบุคคล)
– ใบเสร็จเงินประกันตัวจริง (ถ้ามี)
ในกรณีที่ไม่มีใบเสร็จค่าประกันการใช้น้ำ ให้นำบิลค่าน้ำไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ เพื่อใช้เป็นหลักฐานนำมาแสดงแทนใบเสร็จค่าประกันการใช้น้ำ แต่หากมาตรน้ำไม่เกิน 1 นิ้ว ไม่ต้องใช้ใบเสร็จเงินประกันการใช้น้ำ
– สำเนาสมุดบัญชี
– ใบแจ้งค่าน้ำประปา
โดยอัตราค่าธรรมเนียมเงินประกันคืนเมื่อยกเลิกใช้น้ำประปา มีรายละเอียดเบื้องต้นดังต่อไปนี้
- มาตรวัดน้ำขนาด 1/2 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 400 บาท
- มาตรวัดน้ำขนาด 3/4 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 600 บาท
- มาตรวัดน้ำขนาด 1 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 1,500 บาท
- มาตรวัดน้ำขนาด 11/2 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 3,000 บาท
- มาตรวัดน้ำขนาด 2 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 4,000 บาท
- มาตรวัดน้ำขนาด 21/2 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 5,000 บาท
- มาตรวัดน้ำขนาด 3 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 10,000 บาท
- มาตรวัดน้ำขนาด 4 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 15,000 บาท
- มาตรวัดน้ำขนาด 6 นิ้ว คิดค่าประกันมาตรละ 21,000 บาท
- มาตรวัดน้ำขนาด 8 นิ้วขึ้นไป คิดค่าประกันมาตรละ 30,000 บาท
อย่างไรก็ตาม สำหรับผู้ที่ไม่รู้ขนาดมาตรวัดน้ำ สามารถดาวน์โหลดแอปพลิเคชัน MWA onMobile เพื่อทำการลงทะเบียนก็จะสามารถตรวจสอบมาตรน้ำได้. เว็บไซต์การไฟฟ้า